ไหว้พระวัดสวยกรุงเทพ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ชมความสวยงามของ พระปรางค์วัดอรุณ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ไหว้พระวัดสวยกรุงเทพ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

ไหว้พระวัดสวยกรุงเทพ อีกหนึ่งสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ ที่เรานึกถึงทันทีก็คือภาพที่สวยงามของพระปรางค์วัดอรุณที่ตั้งตระหง่านอยู่เหนือแม่น้ำเจ้าพระยานั่นเอง และวันนี้เราจะพาคุณไปที่กรุงเทพฯ ชมความงามพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ทราบเรื่องราวกำเนิดวัดแจ้งและตำนานยักษ์วัดแจ้ง

ไหว้พระวัดสวยกรุงเทพ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

ไหว้พระวัดสวยกรุงเทพ คนไทยมีความเชื่อว่าการมาไหว้พระวัดอรุณฯ จะทำให้ “ชีวิตรุ่งเรืองทุกวันคืน” วัดอรุณจึงเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวในการจัดทริปไหว้พระ 9 วัดดังในกรุงเทพฯ อีกทั้งยังเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยทัศนียภาพที่สวยงามจึงเป็นสถานที่ที่นิยมมาท่องเที่ยว ไหว้พระ ทำบุญ ถ่ายรูปสวยๆ

สถาปัตยกรรมวัดอรุณราชวรารามนอกจากจะสวยงามโดดเด่นแล้ว ยังสอดคล้องกับเรื่องไตรภูมิกถา กล่าวคือ เป็นงานสถาปัตยกรรมที่สื่อถึงเขาพระสุเมรุ ทวีปทั้ง 4 และเขาสัตบริพันธ์ ในพระพุทธศาสนาอีกด้วยที่ผสมผสานศิลปะแบบไทยและจีนเข้าด้วยกันอย่างงดงาม นอกจากนี้ ภายในพระอุโบสถยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม ฝีมือระดับปรมาจารย์มาให้ชมกันแล้ว

ประวัติวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวราราม หรือที่เราเรียกกันว่า วัดแจ้ง เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดมะกอกนอก เป็นวัดที่สำคัญที่สุดวัดหนึ่งของกรุงเทพมหานครตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีการย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้วัดแจ้งเป็นวัดในเขตพระราชฐาน อีกทั้งในสมัยนั้น ยังเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์อีกด้วย

วัดอรุณได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด โดยรัชกาลที่ 2 เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว จึงโปรดฯ ให้สร้างพระอุโบสถและพระวิหารให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งปั้นพระพุทธรูปด้วยฝีมือของพระองค์เอง และโปรดฯ ให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ และพระราชทานนามวัดใหม่ว่าวัดอรุณราชธาราม

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ให้แล้วเสร็จภายหลังรัชกาลที่ 2 ซึ่งสูง 81.85 เมตร กว้าง 234 เมตร แต่ก็แล้วเสร็จ ในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดอรุณราชวราราม” นั่นเอง

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร มีการบูรณะเป็นระยะๆ การปรับปรุงครั้งสุดท้ายเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 จนกระทั่งแล้วเสร็จในปี 2560

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร รัชกาลที่ 2

รัชกาลที่ 2 ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิสระสุนทรขณะยังประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมจนกระทั่งเสด็จขึ้นครองราชสมบัติและทำนุบำรุงวัดอรุณฯ ต่อไป

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 โปรดให้อัญเชิญพระสรีรางคารของรัชกาลที่ 2 มาบรรจุพระที่นั่งพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลกเป็นองค์ประธานในอุโบสถ พระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยนิยมมาสักการะและ ขอพร ทำให้วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2

และด้านหน้าพระอุโบสถติดริมแม่น้ำเจ้าพระยามีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประดิษฐานอยู่ที่นี่

ตำนานยักษ์วัดแจ้ง

เชื่อว่าหลายคนอาจเคยได้ยินตำนานยักษ์วัดแจ้ง วัดแจ้งมียักษ์อยู่ 2 ตัว คือยักษ์ฝ่ายเหนือสีขาวชื่อ “สหัสเดชะ” และยักษ์ฝ่ายใต้สีเขียวชื่อ “ระสกัณฑ์” หล่อด้วยปูนปั้น กระเบื้องเคลือบเป็นลายแต่งสวยงาม ที่เรามักจะเห็นเป็นประจำทั้งสองพระองค์ยืนเฝ้าอยู่ที่ประตูซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามนั่นเอง

คนสมัยก่อนเชื่อว่ายักษ์ที่เฝ้าประตูชัย มีอำนาจขับไล่ภูติผี ปีศาจ จึงมีหน้าที่คุ้มครองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด

สำหรับตำนานยักษ์วัดแจ้งและยักษ์วัดโพธิ์นั้นเป็นตำนานที่ก่อให้เกิดสถานที่ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีคือท่าเตียน บริเวณท่าเตียนที่เคยกลายเป็นพื้นที่ร้าง เกิดจากการสู้รบระหว่างยักษ์วัดแจ้งกับยักษ์วัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร) ทำให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกยักษ์ทั้งสองเหยียบย่ำจนล้มตาย จนพื้นที่ราบเรียบไปหมด

พระปรางค์วัดอรุณ

สถานที่สำคัญอีกแห่งของวัดอรุณฯ คือ พระปรางค์ ไหว้พระวัดสวยกรุงเทพ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมไทยขนาดใหญ่ประกอบด้วยพระปรางค์ประธานและปรางค์รอง 4 องค์ ก่อด้วยอิฐและปูนปั้นประดับกระจกเงาคล้ายพระปรางค์องค์ใหญ่

พระปรางค์องค์ปัจจุบัน ไม่ใช่พระปรางค์องค์เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2363 แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ความสูงจากฐานถึงยอด 81.85 เมตร

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีการบูรณะพระเจดีย์ครั้งใหญ่ ที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ คือ พระปรางค์ก่อด้วยอิฐปูน ประดับด้วยเปลือกหอย กระเบื้องเคลือบ ชามเบญจรงค์หลากสี เป็นรูปดอกไม้ ใบไม้ ลวดลายต่างๆ ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน

อีกทั้งพระปรางค์วัดอรุณยังเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของการท่องเที่ยวไทยทำให้พระปรางค์วัดอรุณฯ ถูกนำมาใช้ทำเป็นรูปตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอีกด้วย